รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม
POSTED ON :
18 สิงหาคม 2565
1. ประวัติ
ชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2529 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2532 สำเร็จการศึกษาปริญญาโท Master of Science Urban Planning Asian Institute of Technology Thailand
พ.ศ. 2545 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก Doctor of Engineering construction Management Faculty of civil Engineering, the University of Tokyo, Japan.
2. ตำแหน่งการทำงานปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
3. ประสบการณ์/หรือผลงาน
– 2543 – ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ประจำแขนงวิชาการจัดการงานก่อสร้าง/ ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (การจัดการงานก่อสร้าง) สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
– 2538 – 2543 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําแขนงวิชาการจัดการงานก่อสร้าง
– 2532 – 2538 อาจารย์ประจําแขนงวิชาการจัดการงานก่อสร้าง สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
– 2531 – 2532 สถาปนิกและนักวางผัง บริษัท อีสต์ เวสต์ กรุ๊ป จํากัด สถาปนิก บริษัท เมตริก จํากัด
2529- 2530
4. ผลงานและแนวความคิด
4.1 ผลงานด้านการพัฒนา ปรับปรุง และบริหารหลักสูตร หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (การจัดการงานก่อสร้าง) สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใ จใฝ่ศึกษาหาความรู้ ทั้งกลุ่มผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้เพื่อต่อยอดการศึกษาในระดับปริญญาตรี และกลุ่มผู้ที่มีวุฒิปริญญาตรีแล้วและต้องการศึกษาเพิ่มเติมความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพด้านการจัดการงานก่อสร้าง ด้วยระบบการศึกษาทางไกลที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้าศึกษาในห้องเรียน ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้จากทุกที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน นับเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตทำให้ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดเวลากว่า 30 ปีของการรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ของแขนงวิชาการจัดการงานก่อสร้างสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม ได้เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าวนี้ โดยได้ร่วมท่าการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าวให้ทันสมัยสอดคล้องกับบริบทของอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันรับผิดชอบในตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (การจัดการงานก่อสร้าง)นับจนถึงปัจจุบันได้ผลิตบัณฑิตทางด้านการจัดการงานก่อสร้างออกมารับใช้สังคมให้กับหน่วยงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจก่อสร้างมาแล้ว 36 รุ่น และมีจำนวนบัณฑิตไม่ต่ำกว่า 6,000 คน
4.2 ผลงานเอกสารทางวิชาการ ผลงานการเขียนเอกสารการสอนชุดวิชาทางด้านการจัดการงานก่อสร้าง อาทิ – พ.ศ. 2563 เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและปฏิบัติการจัดการโครงการเพื่องานก่อสร้าง – พ.ศ. 2563 เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและปฏิบัติการวางแผนงานก่อสร้าง – พ.ศ. 2560 เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการงานก่อสร้างอย่างยั่งยืน – พ.ศ. 2559 เอกสารการสอนชุดวิชาการบัญชีและการเงินเพื่องานก่อสร้าง – พ.ศ. 2559 เอกสารการสอนชุดวิชาการสำรวจปริมาณและการประมาณราคา – พ.ศ. 2558 เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้างและเครื่องจักรกล – พ.ศ. 2558 เอกสารการสอนชุดวิชาการควบคุมและการตรวจงานก่อสร้าง ทั้งนี้เอกสารชุดวิชาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น นอกจากจะใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (การจัดการงานก่อสร้าง) ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้ว หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนก็ยังได้นำไปใช้เป็นคู่มือประกอบการปฏิบัติวิชาชีพด้านการจัดการงานก่อสร้า งภายในองค์การ รวมทั้งเป็นเอกสารอ้างอิงอย่างแพร่หลายอีกด้วย
4.3 ผลงานการผลิตสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผลงานสื่อการเรียนการสอนทางไกลทางด้านการจัดการงานก่อสร้าง ของสาขาวิชาวิทยาการจัดการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เสียง อีเลิร์นนิง เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาหรือผู้สนใจได้ใช้ศึกษาสำหรับพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านการจัดการงานก่อสร้างด้วยตนเอง ผ่านช่องทาง เช่น STOU Channel, YouTube เป็นต้น
4.4 งานวิจัย งานบริการวิชาการแก่สังคม และการนำาเสนอผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการจัดการงานก่อสร้าง การนำเสนอผลการวิจัยในที่ประชุมระดับนานาชาติ และงานบริการวิชาการแก่สังคมด้านการจัดการงานก่อสร้าง อาทิ
– พ.ศ. 2563 งานวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างไทยในการดำเนินธุรกิจก่อสร้างในกลุ่มประเท ศ CLMV กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
– พ.ศ. 2563 งานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบทรัพยากรกายภาพและสภาพแวดล้อมของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนเพื่อคนทั้งมวลในจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2562 การนำเสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง Competitive Strategies of Thai ผู้ รับ เหมา ใน การ บริหาร โครงการ ก่อสร้าง ใน ประเทศ CLMV Creative Construction Conference (2019), Budapest, Hungary,
– พ.ศ. 2561 การนำเสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง Factors Affecting Readiness of Thai ผู้ รับ เหมา ใน การ เข้า ใกล้ ประชาคม เศรษฐกิจ อาเซียน (AEC). Creative Construction Conference (2018). Ljubljana, Slovenia.
– พ.ศ. 2560 งานบริการวิชาการแก่สังคม โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการบริหารสัญญาโครงการก่อสร้าง จังหวัดสุโขทัย
5. การได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
การได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามลำดับดังนี้
– พ.ศ.2537 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
– พ.ศ.2539 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
– พ.ศ.2542 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
– พ.ศ.2546 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
– พ.ศ. 2549 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
– พ.ศ.2552 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
– พ.ศ.2557 เหรียญจักรพรรดิมาลา
– พ.ศ.2558 มหาวชิรมงกุฎ
6. ความประทับใจที่มีต่อสถาบัน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นสถาบันการศึกษาที่วางพื้นฐานความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมเปรียบเสมือนการสร้างฐานรากทางวิชาชีพที่แข็งแรงและมั่นคงเมื่อมีฐานรากที่มั่นคงก็ทำให้มีความพร้อมที่จะต่อยอดองค์ความรู้ในวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องได้เป็นอย่างดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นสถาบันที่มีครูที่ดีคอยอบรมสั่งสอนถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ศิษย์ด้วยความมุ่งมั่นและเต็มใจ
7. รางวัลที่เคยได้รับ หรือความสำเร็จที่ได้รับการเชิดชูเกียรติ
– ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น 60 ปี พระจอมเกล้าลาดกระบัง ด้านความสำเร็จในอาชีพ / หน้าที่การงาน พ.ศ. 2563